การติดตั้งระบบรั้วตาข่ายสปริง พีพีเฟ้นซ์
1) ชุดเสารับแรง (ชุดเสาหลัก, ชุดเสามุม)
ชุดเสารับแรงถือเป็นหัวใจสำคัญที่ชี้วัดว่าระบบรั้วตาข่ายจะแข็งแรงและดึงได้ตึงหรือไม่ ติดตั้งที่จุดปลายสุดและจุดหักมุมของรั้ว ทำหน้าที่ในการรับแรงดึงและแรงปะทะทั้งหมดจากแนวรั้ว
** ชุดเสาสปริงรับแรง พีพีเฟ้นซ์ มีความแข็งแรงสูงและออกแบบให้สปริงตัวได้ ติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว ตั้งห่างกันได้ < 200 เมตร



2) เสารั้ว (เสาย่อย)
เสาย่อยจะต้องไม่ผูกยึดติดแน่นกับรั้ว เพื่อให้ลวดแนวนอนของรั้วตาข่ายสามารถรูดไปมาได้ เมื่อรั้วโดนกระแทกจะส่งแรงไปยังชุดเสารับแรงเพื่อเป็นตัวรับแรงทั้งหมด โดยที่เสาย่อยจะไม่ได้รับแรงเองและจะไม่เอนล้มหรือพังได้ง่าย (แต่ถ้าหากผูกยึดแน่น เสารั้วจะรับแรงเอง และจะเอนล้มได้ง่ายเมื่อรั้วถูกกระแทก)
** เสาสปริง พีพีเฟ้นซ์ มีความแข็งแรงและสปริงตัวได้ดี ติดตั้งได้ง่ายและรวดเร็ว เมื่อใช้ร่วมกับรั้วตาข่ายสปริง พีพีเฟ้นซ์ แนะนำให้ตั้งห่างกันไม่เกิน 6 เมตร (หากใช้กับรั้วตาข่ายยี่ห้ออื่นที่มีค่าความแข็งแรง <1,235N/mm2 (MPA) หรือรั้วตาข่ายประเภท Hinge Joint จะแนะนำให้ใช้เสาถี่มากขึ้นหรือตั้งห่างกันไม่เกิน 4 เมตร)

3) รั้วตาข่ายสปริง
การดึงรั้วตาข่าย ควรดึงให้ตึงแต่พอดี โดยสังเกตที่รอยหยัก หลังดึงแล้วรอยหยักควรหายไปประมาณครึ่งหนึ่ง เหลืออีกครึ่งหนึ่งเพื่อให้รั้วทำหน้าที่เหมือนเป็นสปริง (หากเป็นรั้วที่ผลิตจากลวดคุณภาพสูงหรือลวดสปริงแท้ หลังจากดึงให้ตึงแล้ว รั้วจะไม่หย่อน ไม่พัง แม้เวลาจะผ่านไปหลายสิบปี แต่ถ้าหากเป็นรั้วลอกเลียนแบบที่ใช้ลวดคุณภาพต่ำในการผลิต เมื่อดึงแล้วลวดจะยืดออกจนรอยหยักหายไปเกือบหมด ถ้าหากไม่หมด เพียงไม่นานรั้วก็จะหย่อนอีก แต่หลังจากดึงให้ตึงแล้วก็อาจจะหย่อนได้อีกเมื่อเวลาผ่านไปเพราะลวดสามารถยืดได้)
** รั้วสปริง พีพีเฟ้นซ์ ผลิตจากลวดสปริงแท้ มีค่าความแข็งแรง 1235-1550N/mm2 และค่าการสปริงตัวสูงกว่า 864-1050N/mm2 ทำให้รั้วไม่หย่อน ไม่พัง คงรูป ไม่ยืดออก แม้ติดตั้งไปแล้วเป็นเวลานาน





